Back

Food Waste ในไทย สูงเป็นอันดับที่ 77 ของโลก

Food Waste ในไทย สูงเป็นอันดับที่ 77 ของโลก รณรงค์ให้คนไทยบริจาคอาหารส่วนเกิน และทานแต่พอดี เพื่อลดปัญหาขยะอาหาร

รายงาน Food Waste Index 2024 เป็นการรายงานครั้งที่ 2 ของ UNEP (UN Environment Programme) ระบุว่า คนไทยสร้างขยะอาหาร (Food Waste) เฉลี่ย 86 กิโลกรัมต่อคนต่อปี โดยเพิ่มขึ้นอีก 7 กิโลกรัมต่อคนต่อปี นับจากในการประเมินครั้งล่าสุด

Food Waste

Food Waste มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง  8-10% 

ทั้งนี้ขยะจากอาหารมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากขยะอาหาร ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 8-10% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของโลก นับว่าเป็นสัดส่วนที่เยอะมาก ๆ ซึ่งปริมาณขยะอาหาร นับวันยิ่งมากขึ้น ดังนั้นแล้ว สัดส่วนของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีกเรื่อย ๆ

องค์การสหประชาชาติ กำหนดเป้าหมายให้ทุกประเทศต้องลดปริมาณอาหารขยะลงให้ได้ 50% ภายในปี 2030 ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีเป้าหมายต้องลดปริมาณขยะอาหารประมาณ 3 ล้านตันต่อปี หรือเฉลี่ยคนละ 43 กิโลกรัม

จากรายงานดัชนีขยะอาหาร (Food Waste Index 2024) ระบุว่า ปี 2022 ครัวเรือนทั่วโลก​สร้างขยะอาหารรวมกันมากกว่า 1 พันล้านมื้อต่อวัน โดยในปี 2022 มีขยะอาหารเกิดขึ้น 1.05 พันล้านตัน (รวมถึงส่วนที่กินไม่ได้)  คิดเป็น 132 กิโลกรัมต่อคน หรือราว 1 ใน 5 ปริมาณอาหารทั้งหมดสำหรับการ​บริโภค ซึ่ง​ 60% เกิดขึ้นจากภาคครัวเรือน 28% เกิดจากธุรกิจด้าน Food Service และ 12% จากกลุ่มธุรกิจค้าปลีก ในขณะที่ผู้คน 783 คนทั่วโลกยังต้อ​งเผชิญความหิวโหย หรือกว่า 1 ใน 3 ที่มีความไม่มั่นคงทางอาหาร

Food Waste ในไทย

เป้าหมายการลด Food Waste ในปี 2030 ยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทาย

ปัญหาขยะอาหาร หรือ Food Waste เป็นภัยคุกคามทั่วโลก โดยเฉลี่ยแล้วแต่ละคนทั่วโลกสร้างขยะอาหารถึง 7 กิโลกรัมต่อปี โดยเฉพาะประเทศในแถบร้อนที่มีอุณหภูมิสูง ทำให้เกิดการเน่าเสียของอาหารได้ง่าย ปัจจุบันมีเพียง 4 ประเทศในกลุ่ม G20 (ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา) และสหภาพยุโรปเท่านั้น ที่จัดการขยะอาหารลงในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ภายในปี 2030 ได้แต่ก็ยังมีอีกหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ที่ยังขาดระบบการจัดการขยะอาหารที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การบรรลุเป้าหมายลดขยะอาหารลง 50% ภายในปี 2030 เป็นเรื่องท้าทาย

BKK Food Bank ธนาคารอาหารแก้ปัญหา Food Waste

กรุงเทพมหานคร ได้กำหนดให้มีนโยบายแก้ปัญหา Food waste ในไทย โดยได้ริเริ่ม โครงการ BKK Food Bank Center แบ่งปันอาหารให้กลุ่มเปราะบาง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส กลุ่มประชาชนผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ 

ซึ่งจะเป็นอีกช่องทางในการกระจายอาหารและข้าวของสู่ผู้ที่มีความต้องการ เพื่อส่งต่อความช่วยเหลือระหว่างผู้ให้และผู้รับอย่างยั่งยืน ผู้รับจะได้รับการสะสมแต้มแลกสินค้า เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการด้านการจัดเก็บฐานข้อมูลอย่างยั่งยืน โดยนำร่องในพื้นที่ 4 เขต ได้แก่ เขตห้วยขวาง เขตบางขุนเทียน เขตพระโขนง และเขตบางพลัด

BKK Food Bank

ช่วงแรกดำเนินการใน 2 รูปแบบ คือ แบบที่ 1 Food surplus หรืออาหารเหลือทิ้ง จากร้านสะดวกซื้อที่ขายไม่หมด ไม่เสีย แต่ไม่ขายแล้วเป็นอาหารที่ต้องทิ้ง สามารถนำไปส่งต่อให้กลุ่มเปราะบางได้ ซึ่ง กทม.ได้ทำระบบขนส่งอาหารเองโดยร่วมกับ มูลนิธิ สโกลารส์ ออฟซัสทีแนนซ์ (Scholars Of Sustenance : SOS Thailand) ช่วยตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารก่อนใช้รถเทศกิจ ส่งต่อเวียนไปยังชุมชนต่าง ๆ นำร่อง 10 เขต โดยภายในปี 2567 จะขยายให้ครบ 50 เขต รวมถึงให้พนักงานกวาดถนนไปรับที่ร้านสะดวกซื้อเอง โดยเวลา 06.00 น. ได้นำไปแจกจ่ายพนักงานกวาดถนน ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง

แบบที่ 2 คือ การรับบริจาค โดยทำต้นแบบที่เขตห้วยขวาง ร่วมกับวัดที่ บริจาคของใช้จากสังฆทานจำนวนมาก เขตจัดทำห้องรับบริจาคเป็นมินิมาร์ทมีสิ่งของทั้งของใช้ ของกิน อาหารแห้ง เลือกใช้วันพระเป็นวันเปิดห้องให้กลุ่มเปราะบางมา รับได้

BKK Food Bank

สำหรับใครที่มีอาหารเหลือทิ้ง หรือวัตถุดิบสำหรับทำอาหารที่ยังพอใช้ได้อยู่ สามารถนำมาส่งต่อให้กับ BKK Food Bank ได้ และเพื่อป้องกันการเกิด Food Waste การซื้ออาหาร ทานแต่พอดี และแบ่งปันส่งต่อ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาขยะอาหารได้ดีมาก ๆ ดังนั้นแล้ว พี่หมีอยากจะเชิญชวนทุกคน ให้ช่วยกันลด Food Waste ไปด้วยกันนะฮะ

ติดตามข้อมูลข่าวสารของ คิดคิด และ ECOLIFE ได้ที่

Facebook: ECOLIFE

Website: คิดคิด / ECOLIFE

KIDKID
KIDKID

This website stores cookies on your computer. Cookie Policy